Dmitry Glukhovsky (ดมิทรี่ กลูคอฟสกี) นักเขียนหนุ่มใหญ่ชาวรัสเซีย ที่ปรึกษาด้านเนื้อเรื่อง ผู้แต่ง Metro Exodus อดีตนักข่าวสายวิทยาศาสตร์-การเมืองคนนี้ ได้แต่งนิยายเกี่ยวกับกลุ่มผู้รอดชีวิตหนีสงครามนิวเคลียร์ลงไปตั้งชุมชนในเครือข่ายรถไฟใต้ดิน ตั้งแต่เขามีอายุเพียง 18ปี
เมื่อไม่มีสำนักพิมพ์ไหนรับซื้องาน เขาจึงตัดสินใจโพสนิยายทั้งเล่มให้คนอ่านฟรีในอินเทอร์เน็ต มันได้รับความสนใจอย่างผิดคาดจากนักอ่านทั่วโลก เขาใช้ข้อติชมที่ได้มาขัดเกลาจนในที่สุดนิยายเล่มแรกก็ได้รับการตีพิมพ์กว่า 20ภาษาทั่วโลก
นวนิยายรัสเซียเล่มนั้นมีชื่อคุ้นหูเกมเมอร์อย่างเราว่า Metro 2033
ด้วยความที่เขาเองก็โตมากับเกม จักรวาล Metro จึงขยับขยายกลายเป็นเกมยิงได้ไม่ยาก โดยมีดมิทรี่คอยให้คำปรึกษาด้านเนื้อเรื่องอย่างใกล้ชิดมาโดยตลอด ทุกวันนี้มันกลายเป็นเกมยิงหนึ่งในไม่กี่เกมที่ยังคงให้ความสำคัญด้านเนื้อเรื่อง
ที่มาของโลกอันแสนหดหู่
[bs-quote quote=”“สาเหตุที่ผมชื่นชอบนิยายแนวอารยธรรมล่มสลายนั้น ไม่ได้มาจากแค่การอ่านหรือเล่นเกมชิ้นใดชิ้นหนึ่ง แต่มันมาจากการที่ผมใช้ชีวิตในประเทศที่อยู่ในยุคอารยธรรมล่มสลายจริงๆต่างหาก”” style=”default” align=”center” color=”rgba(168,120,0,0.82)” author_name=”Dmitry Glukhovsky ” author_job=”ผู้แต่งนิยาย Metro, ที่ปรึกษาด้านเนื้อเรื่องเกม Metro” author_avatar=”https://www.playinone.com/wp-content/uploads/2019/02/dg26060.png” author_link=”https://en.wikipedia.org/wiki/Dmitry_Glukhovsky”][/bs-quote]
ที่มา: interview – ‘I lived in a post-apocalyptic state’
ดมิทรี่กล่าวหลังแชร์ประสบการณ์เนิ๊ดเกี่ยวกับเกมในวัยเด็กยุค Prince of Persia, Civilization 1
แม้จะเริ่มเขียนนิยายมาตั้งแต่สมัยเรียนช่วงที่ Fallout สองภาคแรกออก แต่สิ่งที่มีอิทธิพลต่องานเขียนจริงๆกลับเป็นมาตุภูมิรัสเซียของเขาเอง
ดมิทรี่หมายถึงอดีตสหภาพโซเวียต จักรวรรดิปิดสมญา ‘ม่านเหล็ก’ มีรากฐานมาจากคณะปฏิวัติที่ได้รับชัยชนะ (คอมมิวนิสต์ล้มล้างระบอบกษัตริย์ช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง) ตกเป็นเหยื่อสงครามโดยฮิตเลอร์ ในขณะเดียวกันก็เป็นวีรบุรุษผู้ล้มล้างนาซี ตามมาด้วยวิสัยทัศน์อันกว้างไกลเผยแพร่ระบอบคอมมิวนิสต์ให้กับโลกทั้งใบ
ก่อนที่จะล่มสลายไม่เป็นท่าในช่วงที่ดมิทรี่อายุเพียง12 จากประเทศแรกที่เคยท่องอวกาศ ตกต่ำถึงขนาดต้องปิดไฟทางถนน
จะว่าไปแล้วหนุ่มน้อยดมิทรี่ในขณะนั้น ก็ไม่ได้ต่างอะไรจาก Artyom ตัวเอกนิยายและเกม Metro ที่เกิดบนผืนโลกยุครุ่งเรืองแต่ไปโตในชุมชนรถไฟใต้ดินหลังสงครามโลกครั้งที่สามเลย
เงินทองมันเรื่องขี้หมา เมียด่าสิเรื่องใหญ่
[bs-quote quote=”“ตาแก่ซื่อบื้อ!”” style=”default” align=”center” color=”rgba(168,120,0,0.82)” author_name=”Dmitry Glukhovsky ” author_job=”ผู้แต่งนิยาย Metro, ที่ปรึกษาด้านเนื้อเรื่องเกม Metro” author_avatar=”https://www.playinone.com/wp-content/uploads/2019/02/dg26060.png”][/bs-quote]
ที่มา: Metro 2033 Creator Calls The Witcher Author An ‘Ungrateful Schmuck’
ดมิทรี่แสดงความเห็นต่อผู้สื่อข่าว เมื่อถูกถามเกี่ยวกับกรณี Anidrzej Sapkowski (อังเดรย์ แซพเคาสกี้) ผู้ให้กำเนิด The Witcher ที่ดันขายลิขสิทธิ์ให้ค่ายเกม CD Projekt RED ไปทำ The Witcher 3 ในราคาที่ถูกเกินไป แล้วมาขู่ฟ้องไถเงินเพิ่มหลังจากพบว่าตัวเกมมียอดขายถล่มทลาย
ดมิทรี่ยังคงเล่นเบอร์ใหญ่ใส่ไม่ยั้ง “เรื่องของเรื่องที่ฟ้องก็เพราะแกโดนเมียด่ามานั่นแหละ” “ไอ้เนรคุณไร้สมอง” ถ้าไม่ได้ความดังของ The Witcher 3 มีหรือ Netflix จะเอานิยายแกมาสร้าง
แม้จะจวกเพื่อนร่วมอาชีพที่แก่คราวพ่อเสียยับ แต่ดมิทรี่ก็ไม่ลืมที่จะลูบหลัง “ก็แกแก่แล้ว ตัดสินใจผิดไป จะให้ทำไงล่ะ? ผมเห็นใจแกเหมือนกันแหละ”
แม้นิสัยลุงแกจะไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม แต่งานเขียน The Witcher ของลุงนั้นแซ่บสมราคาคุยจริงๆนะจ้ะ ตาม คหทมสต.(ความเห็นที่ไม่ส่วนตัว) ผมว่าเขียนได้ดีกว่าดมิทรี่อยู่พอตัวทีเดียว
สั่งซื้อ: audiobook นิยาย The Witcher
โดนลูกหลงสงครามดิจิตอล
[bs-quote quote=”“เปล่าเลย… ผมแค่ยืนดูมันถูกฆ่าตายไปต่อหน้าต่อตาต่างหาก”” style=”default” align=”center” color=”rgba(168,120,0,0.82)” author_name=”Dmitry Glukhovsky ” author_job=”ผู้แต่งนิยาย Metro, ที่ปรึกษาด้านเนื้อเรื่องเกม Metro” author_avatar=”https://www.playinone.com/wp-content/uploads/2019/02/dg26060.png”][/bs-quote]
ที่มา: ‘I am standing by and watching [the franchise] being killed’
เป็นทวีตที่ดมิทรี่ตอบข้อความที่ว่า “ฮ่าๆๆ… ฆ่าแฟรนไชส์ตัวเองชัดๆ” ในกรณีดราม่าศึกชิง Metro Exodus ระหว่าง Epic vs Steam จนเกิดกระแส No Steam No Buy เกมเมอร์ขู่ฟ่อว่าจะโหลดเถื่อนเล่นแง่งเลย
ทวีตนี้แสดงให้เห็นว่าตัวเขาเองก็ไม่เห็นด้วยกับการกระทำของ Deep Silver ผู้จัดจำหน่าย แน่นอนว่าตัวเขาทำอะไรไม่ได้นอกจากออกคลิป Damage control จับใจความได้ว่า “เก๊าก๋อโต๊ด… ที่ผู้จัดจำหน่ายดันทำแบบนี้ ได้แต่หวังว่าแฟนๆคงจะไม่ทรยศต่อซีรี่ย์ เราเชื่อมั่นในตัวนาย คุณคือโคบาล!!”
Metro 2035 คือมารดา Metro Exodus
[bs-quote quote=”“แต่เล่มนี้ (ชี้ไปที่นิยาย Metro 2035 ที่วางอยู่บนโต๊ะ) คือรากฐานของ Metro: Exodus มันเป็นจุดกำเนิดของเรื่องราวสำคัญๆทั้งหลายที่เราจะได้ไปเจอตอนเล่น”” style=”default” align=”center” color=”rgba(168,120,0,0.82)” author_name=”Dmitry Glukhovsky ” author_job=”ผู้แต่งนิยาย Metro, ที่ปรึกษาด้านเนื้อเรื่องเกม Metro” author_avatar=”https://www.playinone.com/wp-content/uploads/2019/02/dg26060.png”][/bs-quote]
ที่มา: interview – ‘I lived in a post-apocalyptic state’
Metro 2035 เป็นนิยายเล่มล่าสุดจากทั้งหมดสามเล่ม ถูกเขียนขึ้นมาเพื่อเปลี่ยนแก่นเนื้อเรื่อง ขยับขยายจักรวาลเมโทรที่อุดอู้อยู่แต่ในเครือข่ายรถไฟใต้ดินคับแคบ บรรยากาศอุโมงค์มืดซ้ำซาก ออกไปสู่โลกเบื้องบน (จะได้มีอะไรให้เขียนมากขึ้น ว่างั้นเถอะนะ)
ที่แท้ Artyom คือร่างอวตารของ Dmitry
[bs-quote quote=”“สถานีโปรดของผมคือ สถานีศูนย์แสดงนิทรรศการ สมัยวัยรุ่นว่างเมื่อไหร่ผมจะไปที่นั่นเสมอ เอาหมาไปด้วย บางทีก็ไปกับเพื่อน อาคารแถวนั้นถูกสร้างขึ้นเพื่อสะท้อนให้เห็นถึงพลังเศรษฐกิจของโซเวียต พอถึงยุคล่มสลาย มันกลับทำให้นึกถึงซากวิหารกรีกโบราณ”” style=”default” align=”center” color=”rgba(168,120,0,0.82)” author_name=”Dmitry Glukhovsky ” author_job=”ผู้แต่งนิยาย Metro, ที่ปรึกษาด้านเนื้อเรื่องเกม Metro” author_avatar=”https://www.playinone.com/wp-content/uploads/2019/02/dg26060.png”][/bs-quote]
ที่มา: the antidote to the “merry Western apocalypse”
ดมิทรี่หวนคิดถึงชีวิตช่วงวัยรุ่น ซึ่งสะท้อนลงบนงานเขียนของเขาชนิดถอดแบบกันมา ซีนที่เด็กน้อยอาร์เทียมวัย7-8ขวบสวมหน้ากากกรองอากาศ แอบหนีจากสถานีใต้ดินขึ้นมาสำรวจโลกเบื้องบนกับเพื่อน เงยหน้ามองดูซากอาคารหลังสงครามนิวเคลียร์ ก่อนที่จะได้รับความช่วยเหลือจาก Dark One (Metro Last Light)
แฟนตัวจริงคงทราบดีว่า เครือข่ายรถไฟใต้ดินในโลก Metro นั้นถอดมาจากเส้นทางรถไฟใต้ดินที่ใช้กันอยู่ในมอสโควจริงๆ
ในเกม อาร์เทียมตัวเอกนั้นเติบโตในสถานีรถไฟใต้ดินที่ใช้ชื่อว่า Exhibition (ศูนย์แสดงนิทรรศการ) สถานที่เดียวกับที่ดมิทรี่ในวัยเยาว์ชอบพาสุนัขไปเดินเล่นนั่นเอง