playinone.com
รีวิว บทความ หนัง ซีรีส์ Netflix สตรีมมิ่งทุกระบบ

รีวิวซีรีส์ American Gods สงครามเทพเจ้าสองสมัย แย่งชิงความเป็นใหญ่ด้วยแรงศรัทธา

สรุป

เป็นซีรีย์ที่จับเอาความเชื่อของคนในแต่ละยุคมาเล่น ทำให้เห็นภาพชัดด้วยการใช้พระเจ้าเป็นสัญลักษณ์ แบ่งพระเจ้าออกเป็นสองยุคใหญ่ๆ คือ ยุคเก่ากับยุคใหม่ และทำให้พระเจ้าสองยุคนี้แย่งชิงอำนาจกัน เป็นแฟนตาซีซีรีย์ที่บทดีน่าสนใจมีความแปลกใหม่

Overall
8/10
8/10
Sending
User Review
0 (0 votes)
Comments Rating 0 (0 reviews)

Pros

  • บทดี ดีแบบที่ถ้าคิดตามจะยิ่งสนุก มีการเสียดสีตลกร้ายในบรรยากาศ
  • เป็นแฟนตาซีที่สมจริง คือเป็นแฟนตาซีแต่ดูมีเหตุผลมารองรับได้แบบงงๆ
  • เนื้อหาหนักแต่เรียบเรียงทำออกมาได้สนุก
  • นักแสดงเหมาะกับบรรยากาศหนัง แล้วยังเสริมกับบททำให้ดูได้เพลิน

Cons

  • ค่อนข้างเข้าใจยาก ยิ่งถ้าไม่รู้เรื่องเทพต่างๆที่กล่าวถึงในเรื่องอาจถึงขั้นสับสนนิดๆ และถึงจะพอรู้บ้างก็ไม่ใช่ว่าจะเข้าใจได้ง่ายๆ
  • การดำเนินเรื่องไปเรื่อยๆ เนิบนาบ ดีในแง่ได้ซึบซับและมีช่องว่างในการหายใจเวลาดู แต่สำหรับคนที่ไม่ชอบน่าจะมีอึดอัดกันบ้าง

American Gods ซีรีย์ที่ได้บทมาจากนักเขียนชาวอังกฤษที่มีชื่อเสียง Neil Gaiman ที่เราอาจผ่านตาผลงานของเขามาบ้างทั้งในซีรีย์ภาพยนตร์และ (stop motion) อนิเมชั่น (Good omens-2019 , Coraline-2009, Stardust-2007) ซึ่งแนวของนีลจะเป็นประเภทแฟนตาซีหม่นๆ เหมือนขนมหวานที่รสชาติออกขม ติดดาร์กนิดๆ ใครเคยอ่านผลงานเขียนของนีลก็จะรู้ว่าเวลาเอามาทำเป็นซีรีย์หรือหนังนี่คือลดความเข้มไปเยอะ ข้อดีคือทำให้เรื่องไม่เครียด ผ่อนคลายกว่า เหมือนเอาไปปรับให้สมดุลไม่เข้มจนตึง แต่ก็ยังคงทิ้งความเทาๆ กับตลกร้ายตามแบบฉบับนิลเอาไว้ ซึ่งบทเขียนของนีลได้ถูกมาทำเป็นซีรีย์และได้นำมาพัฒนาต่อโดย Bryan fuller นักเขียนและโปรดิวเซอร์ชาวอเมริกา (Dead Like Me, Wonderfalls, Pushing Daisies, Hannibal)

 American Gods (2017) on IMDb
คะแนนเฉลี่ย IMDB

ตัวอย่าง American Gods season 1

Neil gaiman
Neil gaiman นีลคนเขียนบท american gods

ซีรีย์มีการดำเนินเรื่องไปแบบเนิบๆ ไม่เร่งรัดอะไรนัก ช่วงอินโทรมีการเกริ่นถึงความเชื่อในพระเจ้าของยุคเก่า (ซึ่งในซีรีย์จะมีการย้อนกลับไปพูดถึงสมัยก่อนอยู่เป็นระยะ) ด้วยชาวไวกิ้งที่เดินทางมายังอเมริกาและแสดงถึงการแก้ปัญหาด้วยความรุนแรงเนื่องจากยังมีความเชื่อเกี่ยวกับการมอบสิ่งที่คิดว่าพระเจ้าต้องการให้เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนกับสิ่งที่ตัวเองต้องการเช่นกัน ก่อนจะตัดมาที่ตัวละครหลัก ชาโดว์ มูน (Ricky Whittle) ที่ได้รับการปล่อยตัวจากเรือนจำออกมาก่อนกำหนด ระหว่างทางกลับบ้านเขาได้พบกับ เวนส์เดย์ (lan McShane) ชายผู้มักจะได้ในสิ่งที่เขาต้องการอยู่เสมอ เวนส์เดย์ทาบทามชาโดว์ให้ทำงานกับเขา ด้วยบทสนทนาน่าพิศวง เรื่องวุ่นวายทั้งหลายตามมาหลังจากที่ชาโดว์ตอบรับการทำงานกับเวนส์เดย์

อย่างที่บอกว่า American Gods เป็นซีรีย์ที่ดำเนินเรื่องเรื่อยๆ แต่กลับไม่น่าเบื่อ ด้วยบทพูดที่มีเสน่ห์ประกอบกับการแสดงของเอียน (ถ้าคิดภาพตามไม่ออกให้นึกถึงที่เอียนรับบทผู้จัดการโรงแรมใน John Wick บรรยากาศคล้ายๆ กัน)

 

โดยเนื้อเรื่องหลักจะเกี่ยวกับเทพเจ้าและความเชื่อตามยุคสมัยที่แบ่งออกเป็นสองยุค เป็นเทพเจ้าตามความเชื่อในยุคโบราณและเทพเจ้ายุคใหม่ จะมีเอ่ยถึงยุครุ่งเรืองของเทพองค์นั้นๆ และนำเสนอการใช้ชีวิตของเทพยุคเก่าที่ไม่ได้รับการเคารพนับถือไปแล้วในสังคมปัจจุบัน โดยสอดคล้องกับความศรัทธาของผู้คนที่เปลี่ยนไป เช่น ในสมัยก่อนถ้าฝนไม่ตกพืชผลเสียหายหรือแม้แต่เรื่องเล็กน้อยที่ผิดแปลกไปจากเดิม ผู้คนจะมีความเชื่อเรื่องพระเจ้าพิโรธ โกรธที่เราไม่นับถือบูชา หรือต้องการการสังเวยบูชา ด้วยเลือด เนื้อ ของบรรณาการไม่ว่าจะเป็นสัตว์สิ่งของ หรือแม้แต่ชีวิตของมนุษย์ด้วยกันเอง ซึ่งเราคงคุ้นเคยกับการเซ่นไหว้ด้วยสาวบริสุทธิ์จากหนังสยองขวัญแนวซาตานหรือลัทธิต่างๆในภาพยนต์มาบ้าง ด้วยความเชื่อที่เปลี่ยนไปนั้นเองที่ทำให้ต้องมีการรวบรวมกำลังของเทพยุคเก่าเพื่อมาแย่งชิงอำนาจที่เคยเป็นของพวกเขาให้กลับมาอยู่ในมือเหมือนเมื่อก่อน

ตัดภาพมาที่ยุคปัจจุบัน การดำเนินชีวิตที่ต่างไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิงก็เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ความต้องการ สิ่งที่ร้องขอ (ต่อพระเจ้า) ไม่เหมือนกับคนในสมัยก่อนแล้ว สิ่งที่มีอิทธิผลต่อชีวิตเราในสมัยนี้ไม่ใช่สภาพดินฟ้าอากาศ ความแปรปรวนของท้องฟ้าไม่ทำให้เรากังวลอีกต่อไปเนื่องจากการพัฒนาของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทำให้เราเข้าใจและเปลี่ยนความเกรงกลัวของเราให้ต่างออกไป พระเจ้าในยุคนี้จึงมาให้รูปแบบที่สอดคล้องกับชีวิตประจำวันสิ่งที่เราต่างก็ให้ค่าและความสนใจ ในซีซั่นแรกพวกเทพเจ้ายุคใหม่ที่เปิดตัวมาจะเป็น พระเจ้าแห่งเทคโนโลยี (The God of Technogy – Bruce Langley) สื่อ และ Mister World ซึ่งยังคงเป็นตัวละครลับที่โผล่มาแค่ชื่อน่าจะเก็บไว้เปิดตัวตอนซีซั่นสอง แต่โดยรวมแล้วซีซั่นนี้เทพเจ้ายุคใหม่จะยังไม่มีซีนเท่ากับเทพยุคเก่าเท่าไหร่ เหมือนแค่ออกมาพอหอมปากหอมคอให้เรารับรู้บทบาทของทั้งสองฝั่งมากกว่า  ประเด็นหลักๆ ก็จะเป็นการเสียดสีเรื่องความเชื่อความศรัทธาในแต่ละยุค จับเทพทั้งสองสมัยมาปะทะกันเพื่อแย่งชิงความเป็นใหญ่ ใครที่ชื่นชอบประวัติความเป็นมาของเทพคงถูกใจและอินกับพื้นฐานข้อมูลเดิมที่ช่วยมาเสริมกับเนื้อเรื่องให้มีมิติมากขึ้น American Gods เป็นแฟนตาซีซีรีย์ที่ไม่หวือหวามากนัก คนที่คาดหวังว่าจะได้ดูฉากพลังเหนือธรรมชาติหรือความมหัศจรรย์ที่ฉีกออกไปอย่างชัดเจน อาจจะไม่สมหวังสักเท่าไหร่ แต่นั้นกลับเป็นข้อดีที่ทำให้โลกเทพนิยายในซีรีย์นี้ดูสมจริงขึ้นไปอีก

 

 

สรุปโดยรวมๆ เป็นซีรีย์เกี่ยวกับความเคารพนับถือของคน (ซึ่งในที่นี้ก็จะเป็นคนอเมริกัน) กับพระเจ้าทั้งยุคเก่าและในสมัยปัจจุบัน มีการหยิบยกความเชื่อของคนสมัยก่อน (การบูชา,พิธีกรรม) มาเปรียบเทียบเป็นนัยๆ กับสมัยนี้ (สื่อ,เทคโนโลยี) “หน้าจอคือแท่นบูชา ความสนใจและเวลา ดียิ่งกว่าเลือดแพะซะอีก” (หนึ่งในบทพูดของเทพยุคใหม่) จะเป็นแนวสงครามประสาท ซีซั่น 1 ยังไม่ได้มีการสำแดงพลังพิเศษแบบในหนังซุปเปอร์ฮีโร่หรืออะไรแบบนั้น และยังนำเสนอถึงความเชื่อความศรัทธาในรูปแบบที่แปลกใหม่น่าสนใจ เป็นซีรีย์ที่ถ้าดูแบบไม่คิดมากปล่อยผ่านก็ได้ แต่ดูแบบเก็บรายละเอียดก็จะเป็นอีกความรู้สึกไปเลย ในส่วนของซีซั่น 1 เหมือนเป็นการเกริ่นแนะนำตัวละครแจกแจงบทให้คนดูเข้าใจซะมากกว่า


บทเสริมเกี่ยวกับพระเจ้าทั้งหลาย (ประวัติย่อๆ)

ที่จะเก็บไว้อ่านหลังจากดูจบซีซั่นหนึ่งหรือถ้าไม่ซีเรียสกับสปอยอ่านไว้ก่อนก็ได้

 

 

Mr.Wednesday (อันนี้สปอยนะ!)

ตอนที่ชาโดว์เจอกับเวนส์เดย์ครั้งแรก ชาโดว์ถามคำถามง่ายๆที่ว่าคุณชื่ออะไร แต่กลับถูกเวนส์เดย์ย้อนถามว่าวันนี้วันอะไร ซึ่งตรงกับวันพุธ (Wednesday) เขาจึงให้ชาโดว์เรียกตัวเองว่า เวนส์เดย์ ด้วยเหตุผลที่ว่า วันพุธคือวันของฉัน ซึ่งจริงๆ แล้วชื่อวันต่างๆในสัปดาห์ (Monday – Sunday) มีที่มาจากชื่อเทพนอร์ส (Norse Mythology) ซึ่งเป็นเทพตามความเชื่อของชาวไวกิ้ง (อาจเป็นเหตุผลที่ซีรีย์เปิดตัวด้วยชาวไวกิ้งเพื่อเป็นการใบ้เล็กๆ)  Wednesday เมื่อก่อนตอนที่ยังเขียนเป็นภาษาอังกฤษแบบเก่า (Old English) จะเขียนได้แบบนี้ wōdnesdæg เช่นเดียวกับ เทพโอดิน (Odin) wōden ดังนั้นการที่เวนส์เดย์โพล่งออกมาว่าวันพุธเป็นวันของฉัน เท่ากับเป็นการบอกกลายๆมาตั้งแต่ต้นเรื่องแล้วว่า ฉันคือโอดิน

โอดินถือเป็นเทพที่สูงที่สุดของชาวนอร์ส เป็นเทพแห่งความรอบรู้และสติปัญญา มีความสามารถในการหยั่งรู้อนาคต ที่โอดินแลกมากับดวงตาข้างหนึ่ง

 

Leprechaun

เป็นตำนานของชาวไอริช ตามตำนานเป็นภูติร่างเล็ก ชอบแกล้งคนแต่ไม่ได้มีพิษภัยอะไร ใส่หมวกมีหนวดเคราแต่งตัวซอมซ่อ และเชื่อกันว่าเป็นภูติที่ (ซ่อน) เก็บรักษาทองคำไว้ที่ปลายของรุ้นกินน้ำ จุดอ่อนคือหัวไหล่ที่ถ้าโดนจับจะหมดแรง ซึ่งในซีรีย์ทำออกมาเป็นชาวไอริชที่ตัวโตขี้หงุดหงิด ไว้หนวดเครา (แต่ไม่ได้สวมหมวก) มีอารมณ์ความยียวน

 

 

Bilquis

บิลควิสคือการที่นีลเอา ราชินีแห่งชีบา (queen of sheba) จากหลากหลายตำนานมาผสมกัน ในไบเบิ้ลบอกว่าราชินีเป็นครึ่งคนครึ่งปีศาจมีเท้าเป็นแพะ รูปโฉมงดงาม เคยมีความสัมพันธ์กับกษัตริย์โซโลมอน มีลูกชายด้วยกันหนึ่งคน ส่วนในตำนานของยิว ค่อนข้างไปในทางตัวร้ายเป็นแม่มด นักเต้นยั่วยวน

ส่วนในซีรีย์บิลควิสเป็นเทพแห่งความรัก (the goddess of love) ที่ไม่ได้มีภาพลักษณ์เหมือนคิวปิดที่ทำให้คนรักกัน แต่กลับเป็นเทพที่ต้องการให้คนมอบความรักลุ่มหลงเพื่อเป็นการบูชาเธอแทน


Leave a comment
รีวิว Black Doves พิราบเงา (Netflix) ซีรีส์สายลับที่ตัวละครมีเสน่ห์ซับซ้อนคมคายสุดๆ