playinone.com
รีวิว บทความ หนัง ซีรีส์ Netflix สตรีมมิ่งทุกระบบ

ผิดกฏ! ศาลฝรั่งเศสตัดสิน Steam ต้องให้ผู้ซื้อมีสิทธิ์ขายเกมในคลังต่ออีกทอดได้

มื่อวันที่ 17 กันยายนที่ผ่านมา ศาลสูงในกรุงปารีสมีคำตัดสินออกมา ว่าด้วยกฏห้ามขายเกมต่อให้คนอื่นของ Steam นั้นผิดกฏหมายของ EU หลังกลุ่มตัวแทนผู้บริโภค UFC-Que Choisir ของฝรั่งเศสยื่นฟ้อง Vale ต่อศาลตั้งแต่ปี 2015 โดยอ้างว่าผู้ที่ซื้อเกมบนสตีม มีสิทธิ์ที่จะ “ซื้อ” และ “ขาย” ตัวโค้ดเกมที่อยู่ใน Libary ของพวกเขาได้

ตัวกฏหมายของสหภาพยุโรปที่เป็นประเด็นกันนี้คือ “การเคลื่อนย้ายเสรีของสินค้าในสหภาพ” ระบุว่าสินค้าทุกชนิด “ไม่เว้นแม่แต่ซอฟต์แวร์” สามารถถูกนำไปขายต่อได้โดยไม่ต้องขออนุญาติจากผู้ผลิต หรือเจ้าของคนก่อน ซึ่งการซื้อขายแผ่นเกมที่เป็นตัวแผ่น ตัวกล่องจริงๆก็อยู่ในกฏข้อนี้ แต่เกมบนแพลตฟอร์ม Steam ไม่สามารถทำแบบนั้นได้ ทาง Vale เองก็แย้งกับศาลว่าระบบของพวกเขาเป็นแบบ Subscription แต่ศาลสูงของฝรั่งเศสกลับมองว่าสตีม ขายเกมในรูปแบบของ Licences ซึ่งมันควรจะถูกขายต่อได้ตามกฏหมาย

สรุปก็คือทางกลุ่มตัวแทนผู้บริโภคของฝรั่งเศส ต้องการที่จะให้ลูกค้า Steam ขายเกมที่อยู่ใน Libary เกมตัวเองในลักษณะเป็นเหมือนโค้ดเกมมือสอง เพราะผู้ที่ซื้อเกมควรมีสิทธิ์ครอบครองตัวเกม รวมถึงขายต่อเพราะถือว่าเป็นสินค้าๆ หนึ่ง และศาลก็ตัดสินแล้วว่ามันผิดกฏของ EU ถ้าหากว่า Valve ปฏิเสธไม่ทำตามล่ะก็ จะถูกปรับเป็นเงิน 3,000 ยูโรต่อวัน ซึ่งในขณะนี้ ทาง Steam เองก็ได้ออกโรงประกาศว่า “เราไม่เห็นด้วยกับการตัดสินของศาลชั้นต้นในปารีส และจะอุทธรณ์ผลการตัดสิน แต่ทุกคนอย่าเพิ่งตกใจไป กระบวนการทุกอย่างยังอยู่ในชั้นศาลและยังไม่มีผลกระทบอะไรต่อ Steam ในขณะนี้”

เรื่องมันเกิดขึ้นแบบนี้ ทำให้มีหลายๆ คำถามตามออกมามากมาย และเกิดผลกระทบหลายๆ อย่างถ้าหากว่า Steam แพ้คดีซึ่งมีสิทธิ์สูงมากๆ ถ้าหากใครจำในกรณีของปี 2014 ศาลของ ออสเตรเลียตัดสินให้สตีมต้องมีระบบ Refund เกม ซึ่งทีแรกระบบนี้จะถูกใช้แค่ในสตีมของประเทศออสเตรเลีย ไปๆ มาๆ ก็กลายเป็นระบบหลักของสตีมที่ทุกคนสามารถขอคืนเงินหลังซื้อเกมได้

ในอนาคตเราอาจจะเห็นร้านค้า ขายโค้ดเกมมือสองในแพลตฟอร์มของ Steam และเรื่องนี้ต้องกระทบไปถึงคู่แข่งอย่าง Epic Games Store รวมไปถึงร้านค้าขายเกมดิจิตอลออนไลน์ทั่วโลกอย่างแน่นอน เพราะในปัจจุบันเราทุกคนก็ต่างเห็นว่าเกมที่ขายเป็น Bundle มันถูกเอามากๆ และราคาของเกมแต่ละโซนมันก็ไม่เท่ากัน อาจจะเกิดการบินข้ามประเทศมาซื้อเกมเพื่อขายต่อก็เป็นได้ เกมดิจิตอลนั้นไม่เหมือนเกมกล่องตรงที่ว่ามันไม่มีความเสื่อมของสินค้า ทำให้ถูกขายทอดกี่ทีก็ไม่มีปัญหา ผลที่ตามมาก็คือมันกระทบต่อรายได้ และยอดขายของค่ายเกมกันตรงๆ ซึ่งอาจจะทำให้ราคาเกมมันแพงขึ้น หรือเกมจะกลายเป็นบริการแบบ Subscription รายเดือน รายปี หรืออาจจะทำเหมือนระบบ Subscription ของ Apple Arcade ที่นักพัฒนาจะได้เงินตามเวลาการเล่นของคนเล่นแทน

ADBRO

ผลกระทบคงไม่เกิดแค่ในวงการเกม แต่อาจจะลามไปถึงพวก เพลง อีบุ๊ค แอพพลิเคชั่นบน Itunes Store, Amazon eBook, Appstore และอื่นๆ อีกด้วย และอย่าลืมว่าตัวกฏหมายนี้ ไม่ได้บังคับใช้แค่ฝรั่งเศสเพียงเพราะว่าศาลฝรั่งเศสตัดสินคดี แต่นี่เป็นกฏหมายของ EU ซึ่งมีด้วยกันถึง 28 ประเทศ และยอดขายเกมใน EU ยังเป็นอันดับที่ 3 รองจากอเมริกา และญี่ปุ่นเท่านั้น

สุดท้ายแล้วเราก็ยังไม่สามารถรู้ได้อยู่ดีว่า ใครจะได้หรือเสียผลประโยชน์ แต่ที่แน่ๆ คือมันอาจจะพลิกโฉมวงการร้านค้าเกมดิจิตอลต่อจากนี้ไปอย่างแน่นอน แล้วพวกคุณล่ะ คิดเห็นอย่างไรกันบ้าง คอมเมนต์เข้ามาพูดคุยกันได้เลยครับ

แนะนำข่าวเกมน่าสนใจเพิ่มเติมคลิกอ่านเลย!

Japan E-Sport ไม่แฟร์ แชมป์ SFV และ เจ้าหนู ม.ต้น อดได้เงินรางวัล 5 ล้านเยน!

NBA 2K20 โป๊ะแตกถูกจับได้ว่าย้อมแมว นำภาคเก่ามาเนียนขาย!

Cosplay ชุนหลี เซ็กซี่เกินจนโดน Twitch แบน!

ฟีเจอร์ลับของ Death Stranding ที่จะทำให้คุณถูก Sam ต่อยหน้า!

UFC Fighter ชีวิตติดเกม ขับรถเล่น Nintendo Switch โดยใช้ระบบออโต้ Tesla!

จับลุงหงอก Geralt และ Yennefer มาดีไซน์ใหม่ในยุค 1980s!

เกมเมอร์ตะลึง เมื่อประธานบริษัทเกม Azur Lane คืออาหมวยสุดสวย!

Leave a comment
รีวิว Black Doves พิราบเงา (Netflix) ซีรีส์สายลับที่ตัวละครมีเสน่ห์ซับซ้อนคมคายสุดๆ