Beyblade Burst ทำความรู้จัก กับของเล่นเด็ก ที่ไม่เด็กอีกต่อไป
Beyblade Burst คืออะไร?
ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกันก่อน เบย์เบลด (Beyblade) เป็นของเล่นจากบริษัท Takara Tomy เป็นของเล่นที่ดัดแปลงจาก “ลูกข่าง” ของเล่นที่มีมาช้านาน แต่ได้มีการปรับเปลี่ยนดีไซน์ ใส่ลูกเล่นของ “การถอดประกอบ” และ “กฎ กติกาการแข่งขันที่ชัดเจน” ทำให้เบย์เบลด กลายเป็นของเล่นที่ได้รับความนิยมมาจนถึงปัจจุบัน ทั้งในไทย และ ญี่ปุ่น โดยในปัจจุบันตอนนี้ เบย์เบลดมีเจนหลักๆที่ออกมาแล้วถึง 3 เจน ซึ่งตัว Beyblade Burst จะอยู่ในเจนที่ 3 และตอนนี้ที่ญี่ปุ่นก็อยู่ในภาคที่ 4 คือ Beyblade Burst GT ซึ่งลิขสิทธิ์ในประเทศไทยจะตามหลังที่ญี่ปุ่น 1 ปี โดยประเทศไทยอยู่ใน ภาคที่ 3 คือ Beyblade Burst Cho-Z โดยมีตัวแทนจัดจำหน่ายในประเทศไทยคือ KcToy นั่นเอง
“คราวนี้เรามาดูส่วนประกอบของเบย์เบลดกัน โดยในส่วนนี้จะพูดถึง Beyblade Burst Cho-Z เป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากปัจจุบันสินค้าที่วางขายในประเทศไทยนั่นเอง”
ส่วนประกอบของ Beyblade Burst
ประกอบไปด้วยชิ้นส่วน 3 ชิ้นหลักๆ ได้แก่
เลเยอร์ (Layer)
เป็นชิ้นส่วนด้านบนสุดของเบย์เบลดเป็นส่วนที่เข้าปะทะ หรือได้รับแรงปะทะจากเบย์เบลดของอีกฝ่ายมากที่สุด โดย Layer แต่ละชิ้นจะมีคุณสมบัติที่ต่างกัน บางชิ้นมีน้ำหนักที่หนัก ทำให้วิ่งช้าลง แต่แรงปะทะจะมีมากขึ้น หรือบางชิ้นมีใบมีดเยอะช่วยให้จำนวนการปะทะแต่ละครั้งถี่ขึ้น และยังเป็นจุดที่เป็นเอกลักษณ์และแสดงถึงความสวยงามของเบย์เบลดลูกนั้นๆอีกด้วย
ดิสก์ (Disc)
เป็นชิ้นส่วนตรงกลางของเบย์เบลด มีหน้าที่ถ่วงน้ำหนักของเบย์เบลดให้สมดุลย์ไม่เบามากไป และช่วยเรื่องการปะทะของเบย์เบลดอีกด้วย โดยส่วนมากจะเป็นเหล็ก แต่ก็มีบางชิ้นที่เป็นเหล็ก และมีส่วนผสมของพลาสติก หรือยางอยู่ด้วย เพื่อช่วยลดแรงปะทะ หรือเพิ่มแรงปะทะนั้นขึ้นอยู่กับประเภทของแต่ละชิ้น
ไดร์ฟเวอร์ (Driver)
เป็นชิ้นส่วนฐานของเบย์เบลด ทำหน้าที่กำหนดการหมุนของเบย์เบลด ซึ่งฐานของเบย์เบลดแต่ละชิ้นก็มีหน้าที่ต่างกัน โดยบางชิ้นฐานทำมาจากยาง ช่วยเพิ่มแรงปะทะ บางชิ้นฐานทำมาจากพลาสติกช่วยเพื่มแรงหมุน เป็นต้น โดย Driver ของ ภาคนี้ทุกชิ้น จะมี “ระบบเบิร์ส” (Burst System) ซึ่งเป็นเกลียวล็อคและมีแกนด้านในเป็นสปริง เมื่อได้รับการกระแทกที่รุนแรง หรือหลายครั้ง จะทำให้ล็อคเคลื่อนตัว และเมื่อล็อคเคลื่อนจนสุด ชิ้นส่วนเบย์เบลด ทั้ง 3 ชิ้นก็จะกระจายออกจากกัน
***โดยนอกจากชิ้นส่วนของเบย์เบลด ทั้ง 3 แล้ว สิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้เลยก็คือ
ที่ชู้ต (Launcher)
มีหน้าที่เกี่ยวตัวเบย์เบลดแล้วปล่อยออกมาสู่สนาม โดยมีทั้งที่เป็น แบบสายเชือก ซึ่งตัวสายจะไม่ยาวมาก และตัวสายจะติดอยู่กับ Launcher ทำให้เมื่อดึงแล้วปล่อย สายจะกลับเข้าไปใน Launcher เอง ซึ่งเป็นที่นิยมมาก กับ แบบสายพลาสติกดึง แบบเมื่อก่อน ซึ่งจะทำให้ออกแรงได้มากกว่า แต่ก็แลกมากับการที่ทำให้คุมตัวเบย์เบลดได้ยากกว่า และเสียง่ายกว่า
สนาม (Stadium)
ปัจจุบัน Beyblade Burst ออก Stadium มาแล้วด้วยกันทั้งหมด 3 รุ่น ได้แก่ สนามใหญ่ที่เล่นด้วยกันได้ 4 คน (ซึ่งในประเทศไทยยังไม่มีการวางจำหน่าย) สนามที่ตรงแกนกลางสามารถหมุนได้ เพื่อเพิ่มการปะทะ หรือการดีดออก และสนามที่เป็นมาตรฐานก็คือสนามที่เล่นได้ 2 คน ซึ่งสามารถปรับได้ 2 โหมดคือ โหมดที่ให้ Beyblade ไม่มีการหลุดออกจากสนาม และ โหมดที่ปรับให้มีการหลุดออกจากสนาม ซึ่งเป็นโหมดที่เป็นมาตรฐานในการใช้แข่งขันเบย์เบลด
Burst System
ในเจนก่อนหน้าตัวเบย์เบลดจะมีล็อคที่แน่นมาก ทำให้ในการแข่งขันกินเวลาค่อนข้างนาน ทำให้ทาง Takara Tomy ได้ออกแบบเบย์เบลดรุ่นใหม่ให้สามารถหาผู้ชนะได้ไวขึ้น นั่นก็คือ “ระบบเบิร์ส” (Burst System) นั่นเอง
หลักการทำงานของระบบนี้คือที่ตัว Driver จะมีเกลียวล็อค และมีแกนเป็นสปริงอยู่ด้านใน เมื่อเบย์เบลดเกิดการปะทะกันมากๆ จะทำให้ล็อคเคลื่อนตัว และเมื่อล็อคเคลื่อนจนสุด สปริงที่อยู่ด้านในของ Driver จะดันชิ้นส่วนทั้ง 3 ของเบย์เบลดออกจากกัน ทำให้เกิดการกระจายออกจากกัน หรือที่เรียกว่า “การเบิร์ส” (Burst)
การแบ่งสาย ‘เบย์เบลด’
ตัวเบย์เบลดมีการแบ่งสายออกมาทั้งหมด 4 สาย ได้แก่ Attack, Stamina, Defense และ Balance ซึ่งมีการชนะทางกันคือ Attack ชนะ Stamina, Stamina ชนะ Defense, Defense ชนะ Attack โดยมี Balance อยู่ตรงกลาง
สายโจมตี (Attack)
จุดเด่นของเบย์เบลดสายนี้คือการโจมตีที่หนักหน่วง และมีความเร็วสูง แต่ข้อเสียของสายนี้ก็คือมีระยะเวลาการหมุนที่สั้นมากกว่าสายอื่นๆ เป้าหมายของสาย Attack คือ ชนให้อีกฝ่ายออกจากสนาม หรือชนอย่างรุนแรงทำให้อีกฝ่ายหยุดหมุนก่อนตัวเอง
สายอดทน (Stamina)
จุดเด่นของเบย์เบลดสายนี้คือการหมุนที่นาน แต่ข้อเสียที่แลกมาก็คือน้ำหนักที่เบา ทำให้เมื่อโดนชนจะกระเด็นได้ง่าย และการโจมตีที่เบามากๆ เป้าหมายของสาย Stamina คือ การหมุนให้นานกว่าอีกฝ่าย จนอีกฝ่ายหยุดหมุนก่อน
สายป้องกัน (Defense)
จุดเด่นของเบย์เบลดสายนี้คือการป้องกันที่แข็งแกร่ง สามารถรับการโจมตีได้เยอะ แต่ข้อเสียคือการที่น้ำจะมาก ทำให้ไปกดในส่วนสปริงของ Driver ทำให้เกิดการ Burst ได้ง่าย เป้าหมายของสาย Defense คือการรับการโจมตีของอีกฝ่าย และสะท้อนแรงกระแทกกลับไป
สายสมดุลย์ (Balance)
จุดเด่นของเบย์เบลดสายนี้คือการที่ความสามารถอยู่ในระดับเดียวกันทั้ง 3 ด้าน แต่ข้อเสียก็รวมอยู่ในข้อดีนั้นเอง นอกจากนี้ สาย Balance ยังเป็นสายที่สามารถจัดคอมโบคู่กับชิ้นส่วนอื่นๆได้หลากหลายกว่าสายอื่นๆอีกด้วย ส่วนเป้าหมายของสาย Balance นั้นขึ้นอยู่กับว่าเราจะจัดคอมโบไปทางสายไหน
กฎของการแข่งขัน ‘เบย์เบลด’
ก่อนอื่น เราต้องมีเบย์เบลดอย่างน้อย 3 ตัวก่อน จึงจะเข้าร่วมการแข่งขันได้ และเบย์เบลดที่ใช้แข่ง 3 ตัวนั้น ห้ามมีชิ้นส่วนที่ซ้ำกัน และห้ามเปลี่ยนชิ้นส่วนระหว่างการแข่งขัน
รูปแบบการแข่งจะเป็นแบบ Battle 3 on 3 ใครที่ได้คะแนนครบ 3 แต้มก่อนจะเป็นฝ่ายชนะ โดยผู้เข้าแข่งต้องทำการนำเบย์เบลดทั้ง 3 ตัว มาวางใส่ในกล่อง 3 on 3 ที่ทีมงานเตรียมไว้ให้ โดยเรียงลำดับตัวที่จะใช้ 1 ถึง 3 เมื่อจบการแข่งแต่ละลำดับจะต้องเปลี่ยนตัวเป็นลำดับถัดไปตามที่เรียงไว้ทันที เมื่อใช้เบย์เบลดครบ 3 ตัวแล้ว แต่ยังหาผู้ชนะไม่ได้ ผู้เข้าแข่งขันสามารถเปลี่ยนลำดับของเบย์เบลดทั้ง 3 ตัว เพื่อแก้เกมได้
การนับคะแนนในการแข่งขัน ‘เบย์เบลด’
- การทำให้อีกฝ่ายหยุดหมุนก่อนตัวเอง เรียกว่า “Spin Finish” ได้ 1 แต้ม
- การทำให้อีกฝ่ายออกนอกสนาม เรียกว่า “Over Finish” ได้ 1 แต้ม
- การทำให้อีกฝ่ายกระจายออกหรือ Burst จะเรียกว่า “Burst Finish” ได้ 2 แต้ม
*** และเมื่อทำ ฟาวล์ ครบ 2 ครั้ง อีกฝ่ายจะได้ 1 แต้ม
สามารถติดตามสินค้าออกใหม่ และสถานที่แข่งได้ที่
และกลุ่มพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็นของเบย์เบลดได้ที่
BeyBlade Burst Club Thailand (Beyclub-TH) เบย์เบลดคลับ ประเทศไทย
อ่านงานอื่นของ yumenoyuuki
Pokemon Masters จัดอันดับ 10 Pokemon สุดแกร่ง